Category Archives: ภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์, ภาพกิจกรรม
อาจารย์ ดร.ศรายุทธ แสนมี ผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำทีมงานเข้าพบ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
อาจารย์ ดร.ศรายุทธ แสนมี ผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้นำทีมงานเข้าพบ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
ณ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย
งานแสดงสินค้า และการเดินแฟชั่นผ้าทอภาคเหนือตอนล่าง1 ในคอนเซ็ป #ถักทอวัฒนธรรมนำสมัยเพื่อผ้าไทยสู่สากล โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานในพิธี ท่านอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกกล่าวรายงาน ท่านอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ในพื้นที่มาร่วมเป็นเกียรติภายในงานในวันนี้ รวมทั้งผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มาร่วมต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน โดยมีสื่อมวลชนต่างๆ มาร่วมทำข่าวและประชาสัมพันธ์อย่างมากมายหลายสำนัก ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการนำเสนอและแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าทอภาคเหนือตอนล่างจาก 5 จังหวัด ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก โดยจัดต่อเนื่อง 5 วัน ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2564 และในการนี้ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมชื่นชมผลิตภัณฑ์ชั้นเลิศที่รังสรรค์ร่วมกันระหว่างที่ปรึกษาภายในโครงการที่ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างสวยงาม นำสมัย และทรงคุณค่าด้วยอัตลักษณ์ความเป็นไทย สวมใส่ได้ทุกโอกาส พร้อมแล้วที่จะให้ทุกท่านได้มาชมและอุดหนุนกันได้ภายในงานนี้
#สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง1
#สำนักงานบริการวิชาการ
#มหาวิทยาลัยศิลปากร
#มศก
การจัดประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจ กับสถาบันการศึกษา องค์กร และประชาชน เพื่อมีส่วนร่วม: โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน (ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2564 การบรรยายพิเศษเรื่อง “สื่อสร้างสรรค์กับการรู้เท่าทันสื่อ” โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และมีการแนะนำหลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรระดับประชาชน โดย: ดร.สังกมา สารวัตร, ผศ.ดร.ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ, และ อ.สุรดา จุนทะสุตธนกุล แนะนำภาพรวมเนื้อหาหลักสูตร ระดับประชาชน กรอบแนวทางปฏิบัติ แผนกิจกรรม แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การเขียนรายงาน การวิจัยในชั้นเรียน การให้คำปรึกษา และส่งมอบงานให้คณะวิจัย
- หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา โดย: ผศ.ดร.ศศิธร ยุวโกศล, ผศ.ดร.กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์ และ ผศ.ดร.ดนุชา สลีวงศ์ แนะนำภาพรวมเนื้อหา กรอบแนวทางปฏิบัติ แผนกิจกรรม แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การเขียนรายงาน การวิจัยในชั้นเรียน การให้คำปรึกษา และส่งมอบงานให้คณะวิจัย
นอกจากนี้ยังมีการแนะนำสื่อประกอบการสอน โดย: ทีมผลิตสื่อ ICT มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.สุภาพร หนูก้าน และ ดร.นลินนัฐ ดีสวัสดิ์ เจาะลึกโมดูล สื่อการสอนระดับมัธยม และระดับประชาชน
วันที่ 24 ที่ผ่าน จ.พิษณุโลก สำนักงานบริการวิชาการ ม.ศิลปากร ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ #ทักษะการตกแต่งสิ่งทอ ในกิจกรรมการพัฒนานักออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้า #YoungDesigner กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ณ โรงแรมหรรษนันท์ ได้รับเกียรติจากท่านรักษาการเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมมาเป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมทั้งท่านอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ขอบพระคุณผู้ใหญ่ทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมดี ๆ เช่นนี้ ขอบพระคุณ ดร.เกษม มานะรุ่งวิทย์ ที่มารับหน้าที่ในการถ่ายทอดแนวคิดด้าน Product design ร่วมกับการลงมือปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เป็น Yong Designer ที่พร้อมจะต่อยอดต่อไปในอนาคต ให้ผ้าทอได้โลดแล่นต่อไปในกิจกรรมต่อจากนี้ นำสมัยไปกับผ้าทอของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
สำนักงานบริการวิชาการ ม.ศิลปากร พาคณะ #YoungDesigner เข้าศึกษาดูงานในกลุ่มผ้าทอที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับถึงความมีอัตลักษณ์ และการสะท้อนถึงลวดลายผ้าทอของจังหวัดพิษณุโลกอันโดดเด่น ลวดลายผ้าทอต่าง ๆนอกจากจะมีความวิจิตรสวยงามแล้ว ยังมีความทรงคุณค่าบนประวัติความเป็นมาอันน่าภาคภูมิใจ การคิดค้นลวดลายผ้าทอของท้องถิ่น ที่มาของคำว่า “ผ้าตีนจก” คือ การเอาขนเม่นค่อย ๆ จกด้ายขึ้นมาร้อย ทีละนิดๆ กว่าจะได้เต็มผืน ต้องใช้เวลาและความวิริยะอุตสาหะ แสดงออกถึงความละเอียดอ่อน ความละมุนละไม ลงบนผืนผ้าทอที่พร้อมจะนำเสนอให้กับทุกคนที่รู้ถึงคุณค่า นอกจากนี้ยังมีลวดลายที่สวยงามและน่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ลายน้ำน่าน ดอกไม้สด จำปาขาว คลื่นน้ำ น้ำน่านผสมปีบ มะม่วง ปีปสองแคว ลานหินปุ่ม ค้างคาว นนทรี ลูกยาง สร้อยสยาม ไก่ ช่อมะปราง ปีปก้างปลา ปีปเล็ก รักเสลา ปีปกาสะลอง ทุกชื่อของลวดลายผ้าทอต่าง ๆ ของพิษณุโลก สะท้อนวัฒนธรรม ความเป็นอยู่พื้นถิ่น วิถีของชาวสองแควโดยแท้จริง
กิจกรรมดีๆ เช่นนี้ จะได้เป็นส่วนหนึ่งให้กลุ่ม Young Designer ได้ซึมซับและเข้าถึงจิตวิญญาของผ้าทอได้ดียิ่งขึ้น ต่อเนื่องด้วยกิจกรรมเชิงปฏิบัติการทางด้านการตลาด สิ่งที่จะพัฒนาต้องขายได้ ตลาดต้องสนใจ ด้วยหัวข้อ #การค้นหาตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย Young Designer ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน บนเนื้อหาสาระที่จะได้นำไปปรับใช้เพื่อวางแนวทางให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง อันจะนำไปสู่การต่อยอดทั้งในเชิงลึกและวงกว้าง ขอขอบพระคุณ ดร.พัฒนพงศ์ เพ็งจันทร์ ที่มาช่วยสร้างคนรุ่นใหม่ มาถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ และชี้แนะแนวทางการพัฒนาทางด้านการตลาดให้กับ Young Designer